ติดต่อลงโฆษณา คลิ๊ก ๆๆ
|
|
|
|
|
กระทู้:
การฟื้นตัวของปะการังฟอกขาวภายหลังเหตุการณ์ ข่าวน้ำ (อ่าน 2170 ครั้ง) |
คุณ: dobby8179 |
โพสเมื่อ:
16 พ.ค. 57 เวลา: 11:01 น.
ปะการังฟอกขาวกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจขึ้นมาภายหลังเหตุการณ์ ข่าวน้ำมันรั่ว ปตท ในอ่าวไทยเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา แท้จริงแล้วปัจจัยที่ทำให้เกิด ปะการังฟอกขาว นักวิชาการ ระบุว่า สาเหตุน่าจะเกิดจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่ขึ้นสูงกว่าปกติ ทั้งนี้ อุณหภูมิที่อาจถือว่าเป็นจุดกระตุ้นให้เกิด ปะการังฟอกขาว คือที่ประมาณ 30.1 องศาเซลเซียส หากปะการังอยู่ในสภาพที่อุณหภูมิสูงกว่า 30.1 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานต่อเนื่องเกิน 3 สัปดาห์ ก็จะทำให้เกิดปะการังฟอกขาวขึ้นนั่นเอง โดยที่ผ่านมา ประเทศไทยศึกษาปะการังมากว่า 60-70 ปีแล้ว แต่พบปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว รุนแรงเพียง 2 ครั้ง คือ ปี พ.ศ. 2541 และปีนี้ พ.ศ. 2553
สำหรับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาวที่พบจากเหตุการณ์ ข่าวน้ำมันรั่ว ปตท ในอ่าวไทยเมื่อปี 2556 นั้น เป็นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวแบบเฉียบพลัน ที่เกิดจากผลกระทบการปนเปื้อนของสารเคมี ทำให้ปะการังเกิดการฟอกขาวขึ้น ซึ่งเมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งจนสิ่งแวดล้อมในทะเลเริ่มปรับตัวและปริมาณสารเคมีลดลงสภาวะปะการังฟอกขาวดังกล่าวก็จะหมดไป จาก การศึกษาปะการังทุก 2-4 สัปดาห์ พบว่า ปะการังฟื้นตัวแต่ยังไม่คืนสู่สภาพปกติ มีสภาพฟอกขาวน้อยลงตามลำดับ ทั้งนี้ โดยปกติแล้วปะการังฟอกขาวในไทยจะเกิดเมื่อได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน การสำรวจล่าสุดพบว่า ภาวะฟอกขาวแบบเฉียบพลันจากสาเหตุน้ำมันรั่วได้ผ่านไปแล้ว แต่การศึกษายังอยู่ในช่วง "ภาวะเฝ้าระวัง" ซึ่งจะใช้เวลา 1-2 ปี แต่ในระยะยาวต้องศึกษาต่อไป คาดว่าจะดีขึ้น หากไม่มีผลกระทบอื่นๆ เข้ามาอีก
ภาพถ่ายปะการังฟอกขาวที่เริ่มดีขึ้น
เยียวยา ปะการังฟอกขาว ทำอย่างไร ?
การดำเนินการและการจัดการพื้นที่แนวปะการังที่ได้รับผลกระทบจากการฟอกขาว ควรส่งเสริมการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง ด้วยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้
- การงดกิจกรรมใด ๆ ที่รบกวนปะการัง
- เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง โดยเฉพาะระยะแรกๆ หลังการเกิดฟอกขาว
- ในพื้นที่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวควรลดหรืองดกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อช่วยลดมลพิษที่จะถูกปล่อยลงสู่ทะเล และให้เวลาปะการังในการฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพเดิม
- ในระยะยาวที่สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เอื้ออำนวยต่อการฟื้นตัวตามธรรมชาติของปะการัง การเข้าฟื้นฟูโดยมนุษย์อาจกระทำได้โดยใช้วิธีการที่แตกต่างกันไป ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละบริเวณ และควรดำเนินการด้วยความระมัดระวัง
- ควรเฝ้าระวังรักษาแนวปะการังที่สามารถต้านทาน หรือทนทาน ต่อการเกิดปะการังฟอกขาวให้เป็นแหล่งกระจายตัวอ่อนของปะการังตามธรรมชาติ
- มาตรการระยะยาวที่ต้องทำ คือ การรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงภาวะคุกคามต่อแนวปะการัง อันเนื่องมาจากภาวะโลกร้อน
แม้ว่าสาเหตุหลักของ ปะการังฟอกขาว จะเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น แต่หากเราทุกคนไม่เพิ่มภาระให้ด้วยการเหยียบปะการัง ให้อาหารปลา หรือทิ้งอาหารเหลือลงทะเล รวมถึงช่วยกันใส่ใจดูแล ปะการังสวย ๆ ก็จะยังเป็นสมบัติล้ำค่าของท้องทะเลไทยต่อไปอีกนานเท่านาน
ขอบคุณที่มาข้อมูล “มองวิกฤตท่อน้ำมันรั่ว กระทบอ่าวพร้าว หลัง 6 เดือน” http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1394023115
|
|
|
|
|
|
|
|